เมนู

ด้วยธรรม สมณศากยบุตรทั้งหลายย่อมฉันอาหารอันหาโทษมิได้
ขอเชิญท่านทั้งหลายถวายบิณฑบาตแก่สมณศากยบุตรทั้งหลายเถิด.
จบ สารีปุตตสังยุต

10. อรรถกถาสูจิมุขีสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สูจิมุขี คือ นางปริพาชิกาผู้มีชื่ออย่างนี้
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า นางปริพาชิกานั้น เห็นพระเถระ
มีรูปสวย น่าดู มีผิวพรรณงดงามดังทองคำ ชวนให้เกิดความเลื่อมใส
ตลอดเวลา จึงเข้าไปหาด้วยคิดว่า เราจักทำการร่าเริงกับพระเถระนี้
คราทีนั้นเมื่อพระเถระปฏิเสธคำพูดนั้น นางจึงสำคัญอยู่ว่า บัดนี้
เราจักโต้วาทะกับพระเถระนั้น จึงกล่าวว่า สมณะ ถ้าอย่างนั้น
ท่านก็แหงนหน้าฉัน (แหงนหน้าหากิน) ละซี ?
บทว่า ทิสามุโข ได้แก่ หันหน้าสู่ทิศทั้ง 4. อธิบายว่า
มองดูทั้ง 4 ทิศ (ทิศใดทิศหนึ่ง).
บทว่า วิทิสามุโข ได้แก่ มองดูทิศเฉียงทั้ง 4 ทิศ.
บทว่า วตฺถุวิชฺชาติรจฺฉานวิชฺชาย ได้แก่ ดิรัจฉานวิชา
กล่าวคือ วิชาตรวจดูพื้นที่. อุบายเครื่องรู้ถึงเหตุที่ทำให้พื้นที่ทั้งหลาย
มีพื้นที่ปลูก น้ำเต้า ฟักเขียว และมัน เป็นต้น สมบูรณ์พูนผลชื่อว่า
วิชาดูพื้นที่.
บทว่า มิจฺฉาชีเวน ชีวิกํ กปฺเปนฺติ ความว่า เลี้ยงชีวิตด้วย
มิจฉาชีพ กล่าวคือดิรัจฉานวิชา ได้แก่ วิชาตรวจดูพื้นที่นั้นนั่นแล.

อธิบายว่า บริโภคปัจจัยที่เหล่าชนผู้เลื่อมใส เพราะความสมบูรณ์
พูนผลแห่งพื้นที่เหล่านั้นอยู่.
บทว่า อโธมุขา ความว่า ชื่อว่า ก้มหน้าบริโภค (ก้มหน้าหากิน)
ด้วยอำนาจตรวจดูพื้นที่แล้วบริโภค.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทเหล่านี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นกฺขตฺตวิชา ได้แก่ วิชาที่เป็นเหตุให้รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ ฤกษ์นี้ ควรไปด้วยฤกษ์นี้ ไม่ควรไปด้วยฤกษ์นี้ ควรทำสิ่งนี้
สิ่งนี้ ด้วยฤกษ์นี้.
บทว่า ทูเตยฺยํ ได้แก่ งานของทูต คือ การรับเอาสาส์นของ
คนเหล่านั้น ๆ ไปในที่นั้น ๆ.
บทว่า ปหิณคมนํ ได้แก่ การเข้าไปยังตระกูลหนึ่ง ด้วย
สาส์นของอีกตระกูลหนึ่ง ในหมู่บ้านเดียวกันนั่นแล.
บทว่า องฺควิชฺชา ได้แก่ วิชชาเป็นเหตุให้รู้องคสมบัติ
(ลักษณะอวัยวะที่ดี) ตามอิตถีลักษณะ และปุริสลักษณะ แล้วทราบ
อย่างนี้ว่า บุคคลจะได้สิ่งนี้ ด้วยองคสมบัติอย่างนั้น.
บทว่า วิทิสามุขา ความว่า เพราะว่า วิชาตรวจดูอวัยวะ
ชื่อว่าเป็นไปในทิศเฉียงทั้งหลาย เพราะปรารภส่วนของสรีระนั้น ๆ
เป็นไป (การตรวจดูลักษณะต่าง ๆ ต้องหันหน้าไปทั่วทุกทิศ)
เพราะเหตุนั้น บุคคลทั้งหลายผู้หากินเลี้ยงชีวิตด้วยวิชานั้น จึงชื่อว่า
หันหน้าสู่ทิศเฉียงทั้งหลาย บริโภค (ส่ายหน้าหากิน).
บทว่า เอวมาโรเจสิ ความว่า นางปริพาชิกา เมื่อกล่าวคำ
เป็นต้นว่า ธมฺมิกํ สมณ ชื่อว่า กล่าว (สรรเสริญ) คุณของพระศาสนา

ว่า เป็นนิยยานิกธรรม.
ก็มนุษย์ทั้งหลาย ได้ฟังกถานั้นแล้ว พากันเลื่อมใสในพระศาสนา
ประมาณ 500 ตระกูล แล.
จบ อรรถกถาสูจิมุขีสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาสารีปุตตสังยุต


รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ


1. วิเวกสูตร 2. อวิตักกสูตร 3. ปีติสูตร 4. อุเปกขาสูตร
5. อากาสานัญจายตนสูตร 6. วิญญาณัญจายตนสูตร 7. อากิญ-
จัญญายตนสูตร 8. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร 9. สัญญาเวทยิต-
นิโรธสูตร 10. สูจิมุขีสูตร.